การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

รูปก้อนเนื้อในลำไส้

ลำไส้ใหญ่ เป็นลำใส้ส่วนปลายของระบทางเดินอาหาร หลักการรักษาโรคมะเร็งบริเวณล่าใส้ใหญ่จำเป็นต้องคำนึงถึงถึงรายละเอียดต่างๆ ดังนี้คือ ชนิด, ตำแหน่ง และขนาดของพยาธิสภาพ, ตลอดจน ระยะของโรค และสภาพร่างกายโดยรวมของผู้ป่วย ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกการรักษาที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่น่าพอใจสูงสุดสำหรับผู้ป่วยในแต่ละราย

ทั้งนี้หากโรคมะเร็งยังไม่ใต้ลุกลามออกนอกบริเวณลำไส้ใหญ่ไปสู่อวัยวะอื่นๆ และยังไม่มีการกระจายของโรคไปยังต่อมน้ำเหลือง โอกาสการรอดชีวิตเกิน 5 ปี (5 year survival) จะสูงถึงร้อยละ 90 แต่ถ้าโรคมะเร็งมีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว อัตรารอดชีวิตเกิน 5 ปี จะลดเหลือร้อยละ 65

การรักษาจะขึ้นกับระยะของโรคและตำแหน่งลำไส้ใหญ่ที่ผู้ป่วยเป็น โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

  1. การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกสาหรับผู้ป่วยระยะแรก (ระยะที่ 1-3)
  2. การรักษาเสริมด้วยยาเคมีบาบัด โดยเฉพาะ ผู้ป่ วยโรคมะเร็งลาไส้ใหญ่ ระยะที่ 3 และการรักษาเสริมด้วยรังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบาบัดในผู้ป่ วยโรคมะเร็งลาไส้ตรง ระยะที่ 2 และ 3 เพื่อป้องกันการกลับมาของโรค
  3. การรักษาด้วยยาเคมีบาบัดสาหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งลาไส้ใหญ่ที่เป็นระยะลุกลาม และไม่สามารถผ่าตัดออกได้หมด

ปัจจุบันการผ่าตัดยังคงเป็นการรักษาหลักที่ทำให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรค โดยศัลยแพทย์สามารถทำการผ่าตัดผ่านแผลผ่าตัดที่มีขนาดเล็ก(ประมาณ3-4 ชม.) ด้วยเครื่องมืองมือที่ใด้รับการออกแบบพิเศษ โดยให้ผลการรักษาเทียบเท่าการผ่าตัดแบบตั้งเดิมที่ไข้แผลผ่าตัดที่ยาวกว่ามาก (ประมาณ 20-25 ชม.) ข้อดีของการผ่าตัดด้วยวิธีนี้ คือ ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัว และทำกิจกรรมประจำวันตามปกติได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีรายละเอียดของการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับระยะยะของโรค (staging) และความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายผู้ป่วย ศัลยแพทย์จะเป็นผู้ประเมิน และวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วยและญาติต่อไป

แผลผ่าตัดแบบเปิด
แผลผ่าตัดแบบส่องกล้อง