EN | TH

Interhospital Conference 2025
5th APRIL 2025 08.30 – 12.00
EN | TH
5th APRIL 2025 08.30 – 12.00
วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2568 ณ Pullman Bangkok King Power Hotel
สมาคมศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (ประเทศไทย) จัดอบรม Interhospital Conference เมื่อวันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม 2568 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวข้องกับ colorectal แก่ ศัลยแพทย์ แพทย์ประจำบ้านต่อยอด เพื่อนำไปประยุกต์ในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมได้อย่างเหมาะสมผ่านช่องทาง Online zoom และ Onsite ณ ห้องประชุมราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย…
กิจกรรม COLORECTAL CADAVERIC WORKSHOPวันที่ 29 -30 พฤศจิกายน 2567@ Auditorium, Khon Kaen University Science Park
ก่อนการฉายรังสี รังสีรักษาคือ การใช้รังสีพลังงานสูงมุ่งไปที่รอยโรคมะเร็ง โดยเครื่องมือทันสมัยควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ รังสีจะมีผลทำลายเซลล์มะเร็ง แต่ในขณะเดียวกันก็มีผลกับเซลล์ร่างกายเช่นกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้การรักษาด้วยรังสีรักษา อาจแบ่งเป็นจำนวนครั้งและขนาดของรังสีแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย การวางแผนฉายรังสี เป็นขั้นตอนที่สำคัญก่อนการเริ่มรักษา แพทย์จะใช้ข้อมูลจากการวางแผนฉายรังสีไปคำนวณปริมาณรังสีและวางแผนการรักษา ในวันที่นัดมาวางแผนฉายรังสี ผู้ป่วยจะได้รับกาจัดท่าทางเสมือนกับการฉายแสงจริง และวางตำแหน่งที่จะฉายแสงโดยการขีดสีบริเวณลำตัว ผู้ป่วยต้องดูแลมิให้เส้นบริเวณนี้ลบเลือนเพราะจะทำให้ตำแหน่งคลาดเคลื่อนได้ การปฏิบัติตัวช่วงฉายรังสี มาฉายรังสีตรงตามเวลานัดอยู่เสมอ หากมีอาการไม่สบายให้แจ้งแพทย์ผู้รักษาให้ประเมินอาการว่าสามารถฉายต่อได้หรือไม่ ขณะฉายรังสี ผู้ป่วยควรนอนนิ่งๆในท่าเดิมเหมือนกันทุกครั้ง เช่นเดียวกับท่าทางที่จัดตำแหน่งตั้งแต่วันวางแผนฉายรังสี…
รูปก้อนเนื้อในลำไส้ ลำไส้ใหญ่ เป็นลำใส้ส่วนปลายของระบทางเดินอาหาร หลักการรักษาโรคมะเร็งบริเวณล่าใส้ใหญ่จำเป็นต้องคำนึงถึงถึงรายละเอียดต่างๆ ดังนี้คือ ชนิด, ตำแหน่ง และขนาดของพยาธิสภาพ, ตลอดจน ระยะของโรค และสภาพร่างกายโดยรวมของผู้ป่วย ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกการรักษาที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่น่าพอใจสูงสุดสำหรับผู้ป่วยในแต่ละราย ทั้งนี้หากโรคมะเร็งยังไม่ใต้ลุกลามออกนอกบริเวณลำไส้ใหญ่ไปสู่อวัยวะอื่นๆ และยังไม่มีการกระจายของโรคไปยังต่อมน้ำเหลือง โอกาสการรอดชีวิตเกิน 5 ปี (5 year survival) จะสูงถึงร้อยละ 90…